วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

จอพลาสม่า ( Plasma Display )

จอพลาสม่า ( Plasma Display )
----------------------------------------------------------------------------

จอภาพแบบพลาสม่านี้จะใช้เทคโนโลยีอีกลักษณะหนึ่ง คือ แตละจุด ( pixel ) บนจอจะประกอบด้วยจุดย่อย(subpixel) สามจุดสำหรับแต่ละสี แดง เขียวน้ำเงิน ซึ่งจะเรื่องแสงจากการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อให้ก๊าชในหลอดเล็กๆ ตรงแต่ละจุดอยู่ในสถานะพลาสม่า และเมื่อมีการ ‘การสั่ง’ ให้จุดนั้นสว่างขึ้น ก็จะมีการสร้างความต่างศักย์ที่ฉากเรื่องแสงฝั่งตรงข้าม ทำให้เกิดการคายประจุออกมาและเกิดการเรืองแสงขึ้นจอแบบนี้สามารถทำได้ขนาดใหญ่มาก เช่น 40 – 50 นิ้วหรือกว่านั้น และก็มีลักษณะแบนเหมือนกับจอ LCD แต่ราคาก็ยังสูงอยู่จึงยังใช้กันไม่มากนัก แต่เริ่มมีใช้ในการทำป้าย display ต่างๆ และใช้เป็นทีวีจอยักษ์แทนที่จะต้องใช้เครื่องฉายหรือโปรเจ็คเตอร์ ลักษณะพิเศษที่เห็นอีกอย่างหนี่งคือมักทำออกมาเป็นรูปร่างยาวๆ ในสัดส่วนเดียวกับหนังที่บันทึกบนแผ่น DVD ในแบบ widescreen เพื่อให้ฉายแล้วเห็นภาพเต็มจอโดยไม่มีส่วนใดตกหายไป จอมอนิเตอร์ประเภทนื้เน้นที่ขนาดใหญ่ สะดวกในการติดตั้งเพราะตัวจอมีความแบนและบางน้ำหนักเบากว่ามอนิเตอร์แบบ CRT หรือจอมอนิเตอร์ทั่วไปทั้งแบบจอแบนและจอโค้ง สามารถตั้งแขวนกับผนังเป็นเหมือนกรอบรูปได้เลย ราคาจอแบบนี้ในปัจจุบันจัดว่าสูงมาก เช่น จอพลาสม่าแบบไฮเอ็นขนาดราวๆ 42 นิ้ว จะมีราคาจะอยู่ที่ประมาณ 4 แสนบาท

คุณสมบัติของจอพลาสมา (Plasma Display Panel : PDP)

Structure adn Discharge Mechanism of PDP

หลักการทำงานของจอ Plasma

เป็นจอภาพที่มีลักษณะแผ่นเรียบบาง พลาสมาเกิดขึ้นจากแก๊สที่แตกตัวกลายเป็นอิออน กับ อิเล็กตรอน (ประจุลบ) ในสภาวะปกติ อะตอมของแก๊สเป็นกลางทางไฟฟ้า มีจำนวนโปรตอน (ประจุบวก) เท่ากับจำนวน อิเล็กตรอน ทำให้ประจุไฟฟ้าสุทธิ ของอะตอมเป็นศูนย์ และถ้าผ่านกระแสไฟฟ้า หรืออิเล็กตรอนอิสระเข้าไปในแก๊ส มันจะวิ่งเข้าชนอะตอมของแก๊ส ทำให้อิเล็กตรอนที่โคจรรอบนิวเคลียส ของแก๊สหลุดออก อะตอมขาดความสมดุล มีประจุบวกมากกว่าประจุลบ อยู่ในสภาวะอิออน อิเล็กตรอนอิสระจาก กระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าแทนที่อิเล็กตรอนที่หลุดออกไป เข้าสู่วงโคจรด้านนอก และลดระดับเข้าสู่วงโคจรด้านใน ปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นรูปของโฟตอน (พลังงานแสง) จอพลาสมาประกอบขึ้นจากเซลขนาดเล็กนับล้านเซล ภายในเซลแต่ละเซลบรรจุแก๊สซีนอนหรือนีออน เซลทั้งหมดถูกแผ่นแก้วทั้งสองประกบอยู่ มีเส้นอิเล็กโตรด เดินอยู่บนแผ่นแก้ว ข้างล่างแผ่นแก้ว เป็นเลขที่อยู่ของขั้วไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าทั้งสองฝั่งของแผ่นแก้วจะมีลักษณะตัดกัน(Cross) ด้านบนเดินเป็นแนวนอน ส่วนด้านล่างเดินอยู่ในแนวตั้งฉาก เมื่อจุดตัดของอิเล็กโตรดทั้งสองมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะเกิดแรงดันไฟฟ้าระหว่างจุดบน และจุดล่าง กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านเซลนั้นได้ อะตอมของแก๊สในเซล จะปลดปล่อยแสงอัลตร้าไวโอเล็ต ซึ่งเป็นแสงที่ตามองไม่เห็น ดังนั้นภายในเซลจึงต้องฉาบฟอสฟอรัส 1 เซลต่อหนึ่งสี 1 จุดแสง มี 3 เซล ประกอบด้วย 3 สี เมื่อแสงอัลตร้าไวโอเลตกระทบเข้ากับอะตอมของฟอสฟอรัส มันจะกระตุ้นให้อะตอมของฟอสฟอร์ ปลดปล่อยแสงที่ตามองเห็นออกมา

การปรับเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าของเซลแต่ละเซล สามารถเปลี่ยนความเข้มของสีแสงได้

ข้อเด่นของจอแบบพลาสมาคือคุณสามารถสร้างจอให้มีขนาดใหญ่เท่าไรก็ได้ เพราะจุดแสงแต่ละจุดไม่ขึ้นต่อกัน ภาพที่ได้ออกมามีความสว่างและคมชัดมาก มองจากมุมใดก็ได้ ความสว่างไม่ลดลง และยังทำให้จอมีขนาดบางเหมือนกับนำรูปภาพไปแขวนไว้

ความแตกต่างของจอ LCD กับ PLASMA

LCD และ PLASMA จะเหมือนกันในแง่ของหลักการทำงานที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นดิจิตอลขนานแท้ โดยมีการกำเนิดภาพที่เป็น PIXEL-BASED หรือ “จุดภาพ” เช่นเดียวกัน จึงไม่มีเส้นสแกนภาพ อย่างใน CRT ผลดีก็คือ ได้ความแน่นของภาพและความชัดเจนของสีสันที่ดีกว่า CRT เพราะจำนวนจุดกำเนิดภาพเป็นไปตามสัญญาณที่ส่งเข้ามาอย่างเต็มที่ไม่มีการ สูญหายไปในการสแกนภาพ นอกจากนี้ทั้ง 2 เทคโนโลยียังจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในระดับสูงเพื่อการผลิต ราคาจำหน่ายจึงยังคงอยู่ในระดับสูง LCD นั้นจัดเป็น transmissive device เพราะจำเป็นต้องใช้แสงสว่างส่องผ่านผลึกเหลว เพื่อก่อกำเนิดภาพที่มีความสดใสชัดเจน ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว เราดู “เงา” ของผลึกเหลวในขณะทำงาน คล้ายกับการรับชมภาพสไลด์ ในขณะที่ PLASMA จะจัดเป็น emission device แบบเดียวกับ CRT คือเรารับชมภาพที่เกิดขึ้นโดยตรงบนจอ อย่างที่เรียกกันว่า direct-view PLASMA เปรียบได้กับหลอดนีออนขนาดจิ๋วจำนวนมากเรียงรายกันอยู่บนแผงจอ แต่ละหลอดนีออนขนาดจิ๋วนี้ก็คือ แต่ละพิกเซลของการกำเนิดภาพ ยิ่งต้องการรายละเอียดจุดภาพมากๆ ก็ยิ่งต้องมีเจ้าหลอดนีออนขนาดจิ๋วนี้มาก ตามไปด้วย เอาแค่ว่ารายละเอียดระดับ VGA ธรรมดา 640x480 ก็ต้องมีถึงกว่าสามแสนจุดภาพ (307,200) กันเลยทีเดียว ดังนั้นในจำนวนจุดภาพมหาศาลนี้ “ย่อม” ที่จะมีบางจุดภาพที่ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กลายเป็น “จุดตาย” ที่เรียกว่า dead pixel ซึ่งหากมีมากก็จะกลายเป็นว่าเราจะสูญเสียรายละเอียดของภาพที่รับชมไป และเนื่องจาก PLASMA ใช้หลอดนีออนขนาดจิ๋วจำนวนมาก จึงแน่นอนว่า ย่อมที่จะต้องมีการกระจายตัวของรังสีอุลตร้าไวโอเลตออกมาคล้ายกับ CRT ในขณะที่ LCD นั้นไม่มี อย่างไรก็ตามแนวทางในการพัฒนาให้ PLASMA มีราคาที่ย่อมเยาลงกลับเป็นไปได้ง่ายดายกว่า LCD รวมทั้งค่าความสว่างและคอนทราสต์เรโชก็สูงกว่าด้วยครับ


ภาพแสดงการทำงานของจอ LCD



ภาพแสดงส่วนประกอบจอ LCD



ภาพแสดงส่วนประกอบจอ Plasma

ภาพแสดงตัวอย่างจอ Plasma


source :

1. http://student.swu.ac.th/ed4611382/plasma.html

2. http://www.eduzones.com/knowledge-2-5-33004.html

3. http://www.0817799000.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538724537

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น